มาแบ่งปันเพื่อการเรียนรู้ที่ไม่สิ้นสุดกันคะ

วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สเปกตรัมของอะตอมไฮโดรเจน

สเปกตรัม
สเปกตรัม มี 3 ชนิด
     1. สเปกตรัมแบบต่อเนื่อง (continous spectrum) เกิดจากแสงที่เปล่งออกมาจากของแข็งร้อน (หรือของเหลวหรือแก๊สภายใต้ความกดดันสูง) เมื่อให้แสงผ่านเกรตติงหรือปริซึม จะทำให้แสงแยกออกปรากฎบนฉากเป็นสีต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องกัน
      2. สเปกตรัมเปล่งออกแบบเส้น (Line emission spectrum)หรือเสปกตรัมเส้นสว่าง เกิดจากแสงที่เปล่งออกมาจากแก๊สร้อน เมื่อให้แสงผ่านเกรตติงหรือปริซึม จะทำให้แสงแยกออก   ปรากฎบนฉากเป็นสีต่าง ๆ เป็นเส้น ๆ โดยแต่ละเส้นจะแยกออกจากกันและเรียงกันอย่างเป็นระเบียบ บางครั้งเรียกว่าสเปกตรัมเส้นสว่าง  
     3. สเปกตรัมดูดกลืนแบบเส้น (Line absorption spectrum) เกิดจากการให้แสงจากของแข็งร้อนผ่านแก๊สเย็น แก๊สเย็นจะดูดกลืนแสงบางความถี่บางช่วงเป็นช่วง ๆ เมื่อให้แสงผ่าน   เกรตติงหรือปริซึม จะทำให้เห็นแสงที่ปรากฏบนฉากมืดเป็นเส้น ๆ  และช่วงคลื่นที่แก๊สเย็นดูดกลืนนั้นจะเป็นช่วงเดียวกันกับช่วงที่แก๊สนั้นให้ออกมาเมื่อถูกทำให้ร้อน  

รูปแสดงสเปกตรัมแบบต่อเนื่อง   เกิดจากแสงขาว เมื่อให้แสงขาวผ่านปริซึ่ม หรือสเปกโตรสโคป แสงจะแยกออกจากกันเป็นสีแต่ละสี เรียงกันอย่างเป็นระเบียบต่อเนื่องกัน
รูปแสดงสเปกตรัมเปล่งออกแบเส้น : เกิดจากการเปลี่ยนวงโคจรของอิเลคตรอนจากวงนอกมายัง วงใน และคายพลังงานส่วนเกินออกมาในรูปของคลื่นแม่เหล้กไฟฟ้า ในลักษณะเป็นเส้น ๆ ซึ่งแตกต่างกันออกไปแล้วแต่ชนิดของธาตุ
รูปแสดงสเปกตรัมดูดกลืนแบบเส้น : เราจะเห็นมืดไปเป็นเส้น ๆ โดยช่วงที่หายไปจะเป็นช่วงเดียวกันกับที่ธาตุนั้นให้ออกมาในลักษณะของสเปกตรัมเปล่งออกแบบเส้น

สถานะพื้น (ground state)
     หมายถึงอะตอมที่อิเล็กตรอนซึ่งเคลื่อนที่อยู่รอบนิวเคลียสมีพลังงานเฉพาะตัวอยู่ในระดับพลังงานต่ำ  อะตอมในสถานะพื้นจะมีความเสถียรเนื่องจากมีพลังงานต่ำ

สถานะกระตุ้น (excited state)
     หมายถึงอะตอมที่ได้รับพลังงานเพิ่มขึ้น  ทำให้อิเล็กตรอนถูกกระตุ้นให้อยู่ในระดับพลังงานสูงขึ้น  ที่สถานะกระตุ้นอะตอมจะไม่เสถียร  เนื่องจากมีพลังงานสูง


http://www.thaigoodview.com/files/u2693/ground_state.gif

 อะตอมที่ได้รับพลังงาน  เช่น  จากการเผา  หรือจากกระแสไฟฟ้า  อิเล็กตรอนจะเปลี่ยนจากสถานะพื้นไปสู่สถานะกระตุ้นซึ่งไม่เสถียร  จึงต้องคายพลังงานออกมา  ซึ่งพลังงานที่คายออกมาจะอยู่ในรูปพลังงานแสงหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า  เมื่อผ่านปริซึมหรือสเปกโตรสโคปจะแยกแสงออกเป็นเส้นสเปกตรัม
      การที่ธาตุแต่ละชนิดให้เส้นสเปกตรัมออกมาหลายเส้น  แสดงว่าอิเล็กตรอนที่อยู่รอบนิวเคลียสมีหลายระดับพลังงาน  ระดับพลังงานที่อยู่ใกล้นิวเคลียสจะมีพลังงานต่ำ  ส่วนระดับพลังงานที่อยู่ห่างนิวเคลียสจะมีพลังงานสูง  เมื่ออิเล็กตรอนคายพลังงานอาจคายพลังงานได้หลายช่วงความยาวคลื่น  จึงมองเห็นเส้นสเปกตรัมได้หลายเส้น
      นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาสเปกตรัมของแก๊ส เพราะว่ามีอะตอมอยู่ห่างกัน และใช้อะตอมไฮโดรเจนเนื่องจากมี 1 อิเล็กตรอน พบว่ามีเส้นสเปกตรัมที่ปรากฏในช่วงความยาวคลื่นที่มองเห็นได้โดยมีความยาวคลื่น 410 , 434 , 486 และ 656 นาโนเมตร ตามลำดับ นอกจากนี้การศึกษาเส้นสเปกตรัมของอะตอมของธาตุอื่นๆ ก็พบว่าอิเล็กตรอนในอะตอมของแต่ละธาตุคายพลังงานได้บางค่า และมีเส้นสเปกตรัมเฉพาะตัวไม่ซ้ำกัน โดยเส้นสีแดงมีพลังงานต่ำสุด (3.02 x 10–22 kJ)  และเส้นสีม่วงมีพลังงานสูงสุด (4.48 x 10–22 kJ)
     เส้นสเปกตรัมของแก๊สไฮโดรเจน (H2
http://www.thaigoodview.com/files/u2693/hydrogen-spectra.jpg
http://www.thaigoodview.com/files/u2693/slide0017_image026.gif

การที่นักวิทยาศาสตร์ใช้อะตอมของไฮโดรเจนเป็นตัวอย่างในการแปลความหมายของเส้นสเปกตรัม เพราะเป็นอะตอมที่มีอิเล็กตรอนเดียว จากการทดลองหลายครั้งพบว่าอะตอมของไฮโดรเจนให้เส้นสเปกตรัมได้หลายเส้นที่มีลักษณะเหมือนกันทุกครั้ง จึงสรุปได้ว่าอิเล็กตรอนในอะตอมของไฮโดรเจนขึ้นไปอยู่ในสถานะกระตุ้นที่มีพลังงานแตะต่างกันได้หลายระดับ ค่าพลังงานของเส้นสเปกตรัมแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนระดับพลังงานของอิเล็กตรอนในอะตอมจากระดับพลังงานสูงมายังระดับพลังงานต่ำ
     Lyman series เป็นอนุกรมของเส้นสเปกตรัมของอะตอมไฮโดรเจน ซึ่งแสดงการเปลี่ยนแปลงพลังงานระหว่างสถานะพื้นกับสถานะกระตุ้น
http://www.thaigoodview.com/files/u2693/emission_spectrum_of_hydrogen.gif






ตารางแสดงความยาวคลื่นและพลังงานของเส้นสเปกตรัม
เส้นสเปกตรัม
ความยาวคลื่น
พลังงาน (KJ)
ผลต่างพลังงานของ เส้นสเปกตรัมที่อยู่ถัดกัน
  สีม่วง 
410
4.84 x 10–22


2.7 x 10–23
  สีน้ำเงิน
434
4.57 x 10–22

4.9 x 10–23
  สีน้ำทะเล
486
4.08 x 10–22

10.6 x 10–23
  สีแดง
565
3.02 x 10–22

   
    จากข้อมูลในตาราง แสดงว่าอะตอมของไฮโดรเจนมีพลังงานหลายระดับและความแตกต่างระหว่างพลังงานของแต่ละระดับที่อยู่ถัดไปก็ไม่เท่ากัน  ความแตกต่างของพลังงานจะมีค่าน้อยลงเมื่อระดับพลังงานสูงขึ้น  จากเหตุผลที่อธิบายมานี้ช่วยให้สรุปได้ว่า

  1. เมื่ออิเล็กตรอนได้รับพลังงานในปริมาณที่เหมาะสม อิเล็กตรอนจะขึ้นไปอยู่ในระดับพลังงานที่สูงกว่าระดับพลังงานเดิม แต่จะอยู่ในระดับใดขึ้นกับปริมาณพลังงานที่ได้รับ การที่อิเล็กตรอนขึ้นไปอยู่ในระดับพลังงานใหม่ทำให้อะตอมไม่เสถียร อิเล็กตรอนจะกลับมาอยู่ในระดับพลังงานที่ต่ำกว่า ซึ่งในการเปลี่ยนตำแหน่งนี้อิเล็กตรอนจะคายพลังงานออกมา การดูดหรือคายพลังงานจะต้องมีค่าเฉพาะตามทฤษฎีของพลังค์ โดยค่าต่ำสุดจะเท่ากับความถี่ของอิเล็กตรอนนั้นคูณด้วยค่าคงที่ของพลังค์
    2. การเปลี่ยนระดับพลังงานของอิเล็กตรอนไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนไปยังระดับพลังงานที่อยู่ติดกันอาจมีการเปลี่ยนข้ามระดับได้ แต่เมื่ออิเล็กตรอนรับพลังงานแล้วจะขึ้นไปอยู่ระหว่างระดับพลังงานไม่ได้ จะต้องขึ้นไปอยู่ในระดับใดระดับหนึ่งเสมอ
    3. ผลต่างของพลังงานระหว่างระดับพลังงานต่ำจะมีค่ามากกว่าผลต่างของพลังงานระหว่างระดับพลังงานที่สูงขึ้นไป

http://www.thaigoodview.com/files/u2693/ground_state4.gif



http://www.thaigoodview.com/files/u2693/Bohr_atom.gif
แบบจำลองอะตอมของโบร์
จากความรู้เรื่องการเปลี่ยนแปลงระดับพลังงานของอิเล็กตรอนการเกิดสเปกตรัม   ช่วยให้นีลส์ โบร์ นักวิทยาศาสตร์ชาวเดนมาร์ก สร้างแบบจำลองอะตอมเพื่อใช้อธิบายพฤติกรรมของอิเล็กตรอนในอะตอมได้ โดยกล่าวว่า
             “อิเล็กตรอนจะเคลื่อนที่รอบนิวเคลียสเป็นวงคล้ายกับวงโคจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์ แต่ละวงจะมีระดับพลังงานเฉพาะตัว ระดับพลังงานของอิเล็กตรอนที่อยู่ใกล้นิวเคลียสที่สุดซึ่งมีพลังงานต่ำที่สุดเรียกว่าระดับ K และระดับพลังงานที่อยู่ถัดออกมาเรียกเป็น L  ,  M  ,  N  ,   …   ตามลำดับ ต่อมาได้มีการใช้ตัวเลขแสดงถึงระดับพลังงานของอิเล็กตรอน คือ  n = 1  หมายถึงระดับพลังงานที่ ซึ่งอยู่ใกล้กับนิวเคลียสที่สุด และชั้นถัดมาเป็น  n = 2  หมายถึงระดับพลังงานที่ 2 ต่อจากนั้น  n = 3 ,  4  ,  . . . หมายถึงระดับพลังงานที่ 3 , 4   และสูงขึ้นไปตามลำดับ
               แบบจำลองอะตอมของโบร์ พัฒนามาจากการค้นพบสเปกตรัมของอะตอมไฮโดรเจน ซึ่งเป็นอะตอมที่มี 1 อิเล็กตรอน แต่ไม่สามารถใช้อธิบายอะตอมที่มีหลายอิเล็กตรอนได้ นักวิทยาศาสตร์จึงจำเป็นต้องศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเพื่อเสนอแบบจำลองอะตอมใหม่


สเปกตรัมของอะตอมไฮโดรเจน
                ไฮโดรเจนเป็นธาตุที่มีอะตอมง่ายที่สุด   เพราะมีอิเล็กตรอนเพียงอนุภาคเดียว  สเปกตรัมของไฮโดรเจนก็เป็นสเปกตรัมที่ธรรมดาที่สุดไม่ซับซ้อน  การศึกษาสเปกตรัมของไฮโดรเจนจึงเป็นกุญแจนำไปสู่การตีความหมายของสเปกตรัมของธาตุอื่นๆ  ที่มีอิเล็กตรอนมากกว่าหนึ่งอนุภาคอยู่ในอะตอม  โดยมีความสัมพันธ์
            รัศมีวงโคจรของอิเล็กตรอนมีสูตรเท่ากับ  
           เมื่อแทนค่า n =1  จะเรียกว่ารัศมีของโบร ์  
           ความเร็วของอิเล็กตรอนเท่ากับ  
           และระดับพลังงานใดๆ  สามารถหาได้จาก      

ธาตุแต่ละชนิดจะให้ชุดสเปกตรัมที่มีแถบสีแตกต่างกันไปเป็นสมบัติ เฉพาะตัวของธาตุนั้น ๆ    สเปกตรัมแบ่งออกเป็น 3 พวก คือ
        1) สเปกตรัมต่อเนื่อง (continuous specturm) เกิดแถบสว่างต่อเนื่องที่ออกจากของแข็งที่ร้อน
        2) สเปกตรัมแบบเส้น (line emission spectrum) เกิดเส้นสว่างที่ออกมาจากแก๊สร้อน
        3) สเปกตรัมดูดกลืนแบบเส้น (line absorption spectrum) เกิดเส้นมืดที่แถบสว่างจากของแข็งที่ร้อนผ่านแก๊สที่เย็น  แก๊สที่เย็นจะดูดกลืนแสงเฉพาะบางช่วงคลื่น ทำให้เกิดเส้นมืดเกิดขึ้น
    โบร์ได้อธิบายการเกิดสเปกตรัมของอะตอมไฮโดรเจนได้ว่า  "สเปกตรัมเส้นสว่างเกิดจากอิเล็กตรอนเปลี่ยนวงโคจรจากวงโคจรที่มีระดับสูงกว่า (วงนอก) มายังวงโคจรที่มีระดับพลังงานต่ำกว่า (วงใน) โดยปล่อยพลังงานออกมาในรูปคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า"  พลังงานที่ถูกปล่อยออกมาในรูปคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามีสมการ ดังนี้


เมื่อ   = แทนความยาวคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ปล่อยออกมา
                     RH = แทนค่าคงตัวริดเบิร์ก (Rydberg Constant) โดยที่
                       

                      ni = แทนค่า n ของวงโคจรก่อนการเปลี่ยนแปลง
                      n= แทนค่า n ของวงโคจรหลังการเปลี่ยนแปลง


สำหรับอนุกรมเส้นสเปกตรัมของไฮโดรเจนเท่าที่นักฟิสิกส์ได้ค้นพบมีอยู่ 5 อนุกรม  ดังนี้
1.  อนุกรมไลมาน (Lyman Series)
                         เมื่อ n = 1  และ    ni  = 2, 3, 4,...
2.  อนุกรมบัลเมอร์ (Balmer Series)
                         เมื่อ n = 2  และ    ni  =  3, 4, 5...
3.  อนุกรมพาสเชน (Paschen Series)
                       เมื่อ n = 3  และ    ni  =   4, 5, 6...
4.  อนุกรมแบรกเกต (Brackett Series)
                          เมื่อ n = 4  และ    ni  =  5, 6, 7..
5.  อนุกรมฟุนต์ (Pfund Series)
                          เมื่อ n = 5  และ    ni  =  6, 7, 8...




ความยาวคลื่น (Wavelength)   l  (  แลมบ์ดา ) หมายถึง  ระยะทางที่คลื่นเคลื่อนที่ครบ  1  รอบพอดี  มีหน่วยเป็นเมตร ( m ) หรือหน่วยย่อยของเมตร  เช่น  นาโนเมตร (nm) โดย    1   nm  =   10-9  เมตร
http://www.kme10.com/job/atom_tarang/spectrum_clip_image002.jpg


ความถี่ของคลื่น     n  (นิว)  หมายถึง  จำนวนรอบของคลื่นที่เคลื่อนที่ผ่านจุดใดจุดหนึ่งในเวลา  1  วินาที
มีหน่วยเป็นจำนวนรอบต่อวินาที หรือ เฮิร์ตซ์ ( Hertz)  หรือ  Hz

แอมปลิจูด ( Amplitude)  คือ  ความสูงของยอดคลื่น

คลื่นที่จะศึกษากันในที่นี้เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในช่วงความยาวคลื่นระหว่าง  380  ถึง  750  nmซึ่งเป็นช่วงคลื่นที่มีความยาวและความถี่ที่ประสาทตาของคนจะรับได
้เรียกคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าช่วงดังกล่าวนี้ว่า  “แสงขาว (Visibel  light)” 
ช่วงคลื่น
ความยาวคลื่น (m)
ความถี่คลื่น (Hz)
 อัลตราไวโอเลต
แสงขาว
อินฟราเรด
ไมโครเวฟ
1 x 10-7 -  3 x  10-7
3 x 10-7 -  7 x  10-7
2.5 x 10-6 -  3 x  10-5
1 x 10-3 -  3 x  10-1
1.5 x 1015
0.6 x 1015
3.0 x 1013
3.0 x 1010
                                   
http://www.kme10.com/job/atom_tarang/spectrum_clip_image004.jpg
         


    เมื่อให้แสงขาวส่องผ่านปริซึม  แสงขาวจะแยกออกเป็นแถบสีต่าง ๆ ต่อเนื่องกัน  7  สี  เหมือนสีรุ้ง
คือ  สีม่วง  คราม  น้ำเงิน  เขียว  เหลือง  ส้ม  และแดง  นักวิทยาศาสตร์เรียกแถบสีต่อเนื่องกันทั้ง  7  สีนี้ว่า  “ สเปกตรัมของแสงสีขาว ”   
ตาราง   แถบสีของสเปกตรัมของแสงขาว
สีของสเปกตรัม
ความยาวคลื่น (nm)
ม่วง 
คราม 
น้ำเงิน 
เขียว 
เหลือง 
ส้ม 
แดง
380  -   420
420  -  460
460  -  490
490  -  580
580  -  590
590  -  650
650  -  700
           
  มักซ์  พลังค์ (Max  Planck)  นักวิทยาศาสตร์  ชาวเยอรมัน  ได้พบว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือแสงเป็นพลังงานรูปหนึ่งและพลังงานของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามีส่วนสัมพันธ์กับความถี่และความยาวของคลื่น
โดยสรุปเป็นกฎว่า
            “  พลังงานของคลื่นแม่เหล็กแม่เหล็กไฟฟ้าจะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับความถี่ของคลื่นนั้น

เขียนเป็นความสัมพันธ์ได้ดังนี้
                                            เมื่อ        E    =  พลังงานของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า  (หน่วยเป็น จูล )
E          =      h http://www.kme10.com/job/atom_tarang/spectrum_clip_image006.gif                                 h  =  ค่าคงที่ของพลังค์ ( Plank , constant)   =  6.625  x  10-34  Js
                                                         http://www.kme10.com/job/atom_tarang/spectrum_clip_image006_0000.gif =  ความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า  (Hz  หรือ  s-1)

http://www.kme10.com/job/atom_tarang/spectrum_clip_image006_0002.gif        =       http://www.kme10.com/job/atom_tarang/spectrum_clip_image010.gif           c  =   2.99 x  108  ms-1  หรือ  โดยประมาณ  c  =    3.0 x  108  ms-1                                     

E          =      hhttp://www.kme10.com/job/atom_tarang/spectrum_clip_image006_0003.gif      =      hhttp://www.kme10.com/job/atom_tarang/spectrum_clip_image010_0000.gif



ตัวอย่าง  จงคำนวณหาความยาวคลื่นที่ยาวที่สุด  และสั้นที่สุดในอนุกรมไลมานของไฮโดรเจนสเปกตรัม (ตอบในหน่วยอังสตรอม)
วิธีทำ      จากสูตรอนุกรมไลมาน         เมื่อ n = 1  และ    ni  = 2, 3, 4,...
            1)  พิจารณาความยาวคลื่นที่ยาวที่สุด เมื่อ n=2  ดังนี้
                       
                        จะได้   = 1,215  อังสตรอม
            2)  พิจารณาความยาวคลื่นสั้นที่สุด เมื่อ n=   ดังนั้น
                      
             จะได้   = 912  อังสตรอม
ดังนั้น ความยาวคลื่นยาวที่สุดประมาณ 1,215  อังสตรอม  และความยาวคลื่นยาวคลื่นสั้นที่สุดประมาณ 912 อังสตรอม
การแผ่รังสีของวัตถุดำ
           ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19  พลังค์ได้มีการศึกษาและตั้งสมมติฐานซึ่งมีใจความว่า "พลังงานที่วัตถุดำรับเข้าไป หรือปล่อยออกมานั้นมีค่าได้เฉพาะบางค่า"การแผ่รังสีของวัตถุพบว่า  อัตราการแผ่รังสีขึ้นกับอุณหภูมิและชนิดของผิววัตถุ  และพบว่าวัตถุใดที่แผ่รังสีได้ดีจะดูดกลืนรังสีได้ดีด้วย  วัตถุที่แผ่รังสีได้ดีและดูดกลืนรังสีที่ตกกระทบได้อย่างสมบูรณ์ เรียกว่า วัตถุดำ (black body)  และอัตราการแผ่พลังงานจากวัตถุดำขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของวัตถุดำเท่านั้น
วัตถุดำ (black body)




วัตถุดำเป็นวัตถุในอุดมคติ  ในทางปฏิบัตินักฟิสิกส์สร้างวัตถุดำ  โดยทำโพรง (cavity)  ในเนื้อวัตถุ  โดยเจาะช่องเล็กๆ  เมื่อแสงผ่านช่องเล็กนี้เข้าไปในโพรง  แสงจะสะท้อนกลับไปกลับมา ในที่สุดจะถูกผนังโพรงดูดกลืนจนหมด    โพรงจึงทำหน้าที่เป็นวัตถุดำ  ในการศึกษาการแผ่รังสีของวัตถุแข็งที่ร้อนนิยมใช้วัตถุดำแทน

อ้างอิง
http://203.154.131.43/elibrary
http://203.158.100.139/charud/oldnews/47/electron/Untitled/spectrum.htm
http://www.kme10.com/job/atom_tarang/spectrum.html
http://www.walter-fendt.de/ph14th/bohrh_th.htm
http://www.thaigoodview.com/node/17287?page=0%2C10

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น